แนะนำสถานศึกษาต้นสังกัด

nasic on PhotoPeach

คนประจำเรือ

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่4

ชื่อสถานศึกษา       วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช
ที่ตั้ง                          147  หมู่ที่  4  ถนนท่าเทียบเรือ  ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก  อำเภอปากพนัง  จังหวัดนครศรีธรรมราช   
                                   รหัสไปรษณีย์  80140
โทรศัพท์                  075  444212  ,  075  370759
โทรสาร                    075  370740
เว็บไซต์                    www.nasic.moe.go.th
          กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช  ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  7  เมื่อวันที่  16  พฤศจิกายน  2530  เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะและความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่  ที่ใช้ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและสนองความต้องการของตลาดแรงงานในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้  โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการเงินกู้กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) เพื่อใช้ในการจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับการเรียนการสอน  ปัจจุบันได้เปิดการเรียนการสอนทั้งระดับ ปวช. และ ปวส. ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมประเภทวิชาบริหารธุรกิจสาขาการจัดการขนส่ง  และหลักสูตรเทียบเท่าปริญญาตรีนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ฝ่ายช่างกล (หลักสูตรพิเศษ)
เป้าหมายการพัฒนา
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช  มีเป้าหมายดังนี้
                1.  จัดการศึกษาในระบบ โดยเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  และระดับปริญญาตรี
                2.  จัดการศึกษานอกระบบ   โดยการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้น  เพื่อยกระดับฝีมือให้กับบุคคลทั่วไป
วิสัยทัศน์   ปรัชญา  พันธกิจ  วิทยาลัย
วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
มุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นเลิศด้านวิชาชีพเฉพาะทางเพื่อสนองความ
ต้องการของชุมชน  ประเทศชาติสู่ระดับสากล
ปรัชญาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
รู้หน้าที่  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้   เชิดชูคุณธรรม 
         พันธกิจ
                      1.  จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพ  ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
                      2.  ผลิตกำลังคนในระดับช่างฝีมือเข้าสู่งานอุตสาหกรรมการต่อเรือและพาณิชยนาวี
                      3.  ปลูกฝังให้บุคลากรมี คุณธรรม  จริยธรรม  ในการระกอบวิชาชีพและภาคภูมิใจในการ
                           ประกอบวิชา
                      4.  เป็นศูนย์กลางบริการทางวิชาชีพและเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม
                      5.  ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                      6.  ส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพให้ชุมชน
                      7.  สนับสนุนการวิจัย  เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
หลักสูตรและระดับที่เปิดสอน
                      วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช  เปิดทำการสอนใน  3  ระดับ  คือ  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)  หลักสูตรเทียบเท่าปริญญาตรี  ใน  ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
                      1.  หลักสูตรระดับ  ปวช.  ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
                            -  สาขางานต่อเรือ                                              -  สาขางานยานยนต์
                            -  สาขางานเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง                        -  สาขางานโลหะการ
                            -  สาขางานไฟฟ้ากำลัง                                        -  สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
                            -  สาขางานเมคคาทรอนิกส์
                      2.  หลักสูตรระดับ  ปวส.  ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
                                               -  สาขางานต่อเรือ                                           -  สาขางานยานยนต์
                            -  สาขางานเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง                     -  สาขางานโลหะการ
                            -  สาขางานไฟฟ้ากำลัง                                     -  สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
                            -  สาขางานเมคคาทรอนิกส์                            -  สาขางานเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
                            -  สาขางานบริหารธุรกิจ (การจัดการขนส่ง)
                      3.  หลักสูตรพิเศษเทียบเท่าปริญญาตรี
                            -  นักเรียนเดินเรือพาณิชย์
                      วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช  ได้ใช้ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง  และมีประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษาของกรมอาชีวศึกษา  7  มาตรฐาน  43  ตัวบ่งชี้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยมีกลไกในการกำกับติดตามคุณภาพอย่างชัดเจนตั้งแต่ระดับครูผู้สอน  ให้รายงานติดตามคุณภาพของผลงานของตน  หัวหน้างานกำกับติดตามงานในระดับฝ่ายงาน  คณะกรรมการกำกับคุณภาพติดตามมาตรฐานงานตามตัวบ่งชี้ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  มีการดำเนินการกำกับติดตามและรายงานผลการติดตามอย่างต่อเนื่อง  ภายใต้การกำกับติดตามของรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการศึกษา  และหัวหน้าประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  ทำให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายตามแผนพัฒนา  และพันธกิจที่กำหนดสอดคล้องเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
จุดเด่นของสถานศึกษา
                1.  ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ความสามารถ  มีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์มีการสร้างเครือข่าย
     ประชาคมอาชีวศึกษา
 2.  สถานศึกษา  มีการบริการที่มีคุณภาพสามารถพัฒนาสถานศึกษาไปสู่การเป็นสถาบันการศึกษาที่
      ผลิตกำลังคนเฉพาะทางด้านการพานิชยนาวีตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและสอดคล้อง
      กับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.  สถานศึกษามีอุปกรณ์  เครื่องมือและครุภัณฑ์การศึกษา ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติที่ทันสมัยและ
     เพียงพอ
จุดที่สถานศึกษาควรพัฒนา
                1.  ควรพัฒนาศูนย์วิทยบริการมีสื่อการเรียนรู้ให้หลากหลายและเพียงพอกับจำนวนผู้เรียน
                2.  สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาควรปรับปรุงพัฒนาให้มีความร่มรื่น  สวยงามและมีพื้นที่พักผ่อน
                     หย่อนใจของนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น
                3.  ควรประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลและผลงานของสถานศึกษาออกสู่สาธารณชน
                4.  ควรจัดทำวิจัยสถาบันที่สามารถจะนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาได้
          5.  ควรมีเครือข่ายประชาคมอาชีวศึกษาที่เป็นสมาคมศิษย์เก่าหรือสมาคมผู้ปกครองเข้ามาร่วมเสริม
                     สร้างความเข้มแข็งและร่วมพัฒนาสถานศึกษา
การพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
                สถานศึกษาควรพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาเฉพาะทางเน้นการจัดการเรียนการสอนด้านพาณิชยนาวีในสาขาวิชาต่าง ๆ และควรพัฒนาสถานศึกษาในด้านบุคลากรผู้สอน  ครุภัณฑ์  อาคารสถานที่  เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดสอนระดับปริญญาตรี
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระยะสั้น
                1.  ควรตรวจ  กำกับ  ติดตาม  นักศึกษา  ที่เข้าเรียนใหม่  เพื่อลดการออกกลางคันของนักศึกษา
                2.  ควรดำเนินการติดตามนักศึกษาที่เรียนจบแล้วมีงานทำ หรือเรียนต่อเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลการ
จัดการศึกษา
                3.  ควรพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา  ให้มีความพร้อมและทันต่อเทคโนโลยี
                4.  ควรพัฒนานักเรียน  นักศึกษา  ส่งเสริมในด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ให้มากขึ้น

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม ที่ 6

จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการสร้างและใช้งานบล็อก โดยมีการส่งงานผ่านทางบล็อกนั้น ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการบริหาร เพราะเราสามารถที่จะบันทึกเรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร สิ่งดีๆต่างๆ ที่เราต้องการเผยแพร่ ถ่ายทอด  ให้ผู้อื่นรับทราบลงในบล็อกได้อย่างหลากหลาย เป็นช่องทางให้ครูและนักเรียนได้พัฒนาตนเอง ทั้งในด้านความรู้ ด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียน  ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการบริหารจัดการ ให้มีความน่าสนใจ ทันสมัย  มีความรวดเร็ว มีความคล่องตัวมากขึ้น ส่งผลให้การเรียน การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลดีของการใช้งาน
- ใช้งานได้สะดวก ลดเวลาในการทำงาน   มีความหลากหลาย นำเสนอได้ทั้งรูปภาพและตัวหนังสือ เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการบริ หาร เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล
-ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมใหม่ อาทิเช่น โปรแกรมอีเลินนิ่ง การจัดทำสไลด์ การตกแต่งบล็อกของตนเอง การเพิ่มเติมข้อมูลที่น่าสนใจ และเรื่องใหม่ ๆ ลงในบล๊อก ทำให้กระตือรือร้นอาจารย์ มีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น ให้ความสนใจกับวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญเวลาเรียนไม่เคยหลับเลยค่ะ เพราะกลัวจะตามเพื่อนไม่ทัน
-เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้นั้น เนื่องจากผู้เขียน บล็อก มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีมีความรู้เฉพาะด้านๆความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน บล็อก ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
- พอเจอเพื่อนใหม่ สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ        ความรู้สึก ร่วมกันได้
- เป็นเหมือนบันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลขององค์กร
ผลเสียของการใช้งาน
- ข้อความสามารถคัดลอก วางได้สะดวกโดยไม่ต้องพิมพ์
- นักเรียนที่ไม่มีความรู้เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์อาจจะไม่สามารถเรียนทันเพื่อนได้
 - ข้อความของเพื่อนๆ ที่ลิงค์กันได้ สามารถคัดลอก ได้สะดวกโดยไม่ต้องพิมพ์ ทำให้นักเรียนบางคนไม่ต้องคิดด้วยตนเอง

กิจกรรมที่ 5 การศึกษาดูงานประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์

ขั้นตอนวิธีการไปศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์   ระหว่างวันที่ 24 -28 มกราคม 2554
     - ประชุมสมาชิกในห้องเพื่อสำรวจสถานที่ศึกษาดูงาน งสมาชิกมีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะไปศึกษา  ดูงานประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์
    -  นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
    - ติดต่อบริษัททัวร์  ซึ่งคณะกรรมการมีมติเลือกบริษัทศิรินครทัวร์ เป็นผู้ดูแลและจัดกิจกรรมศึกษาดูงานในครั้งนี้
     - บริษัทศิรินครทัวร์นำสมาชิกที่ยังไม่มีหนังสือเดินทางไปทำหนังสือเดินทางที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     - บริษัทศิรินครทัวร์มาพบปะสมาชิกเพื่อแจ้งข้อตกลงเบื้องต้น และข้อมูลในการเตรียมตัวก่อนออกเดินทาง
     - เดินทางไปศึกษางาน ณ  Seklolah Kebangsaan Kodiag school    ประเทศมาเลเซีย     
     - ทัศนศึกษา ณ ประเทศสิงคโปร์
ศึกษาดูงาน ที่ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์
24 มกราคม 2554 - เดินทางออกจากประเทศไทย
- เข้าสู่ประเทศมาเลเซีย ดูงานที่โรงเรียน S.K.Kodiangh
- เดินทางเข้าสู่เมืองปีนัง พักที่โรงแรม Grand Contineltal Hotel
25 มกราคม 2554 -ชมป้อมปีน  ที่เกาะปีนัง
-เดินทางเข้ากรุงกัวลาลัมเปอร์ ชมเมือง มัสยิดหินอ่อน ชมหอคอยเคแอลทาวเวอร์ ตึกแฝด Twin Tower
- เดินทางสู่เก็นติ้งเมืองมหานครแห่งความบันเทิงบนภูเขาสูง โดยกระเช้าไฟฟ้า
- พักที่เก็นติ้ง
26 มกราคม 2554 - เดินทางจากเก็นติ้งสู่เมืองใหม่ปุตราจายา
- เดินทางเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์
- พักที่โรงแรม AQUEEN HOTEL  
27 มกราคม 2554 - เดินทางเข้าชมอ่าวสิงคโปร์ บริเวณเมอร์ไลออน
- ซื้อของบริเวณถนนออร์ชาร์ด
- เดินทางเข้าสู่เกาะSentosa
- ชม ละคร 4 D และ The  Song of the sea
- เข้าพักที่โรงแรม นิวยอร์ค   เมืองยะโฮบารู  ประเทศมาเลเซีย
28 มกราคม 2554 - เดินทางสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์
- แวะซื้อสินค้าปลอดภาษี
- เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย ถึงบ้านพัก เวลา 23.00 น.
ความประทับใจ
               ประเทศมาเลเซีย บรรยากาศทางภูมิประเทศ และภูมิทัศน์ของประเทศที่เขียวไปด้วยต้นไม้นานาพันธ์ เยี่ยมไปด้วยความสะอาด 2 ฝั่งเส้นทางที่ผ่าน ในตัวเมืองการวางแผนการจราจร และการควบคุมมลพิษทางเสียง ควันรถไม่มีปัญหา ที่อยู่อาศัยของประชาชนจัดอยู่อย่างเป็นสัดส่วนไม่เหมือนเมืองไทยเรา ประชาชนมีระเบียบวินัยในต้นเองสูง  อีกจุดหนึ่งคือการเดินทางด้วยกระเช้าไฟฟ้าสู่ยอดเขาเก็นติ้ง เป็นประสบการณ์ที่ร้าวใจตื่นเต้นมากถือว่าได้นวนัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ใหม่และมีความปลอดภัยเข้ามาใช้ ผู้สร้างเมืองนี้ถือว่าเป็นมีความคิดที่ยิ่งใหม่ และถือว่าเก็นติ้งเป็นเมืองมหานครแห่งความบันเทิงบนภูเขาสูงแห่งหนึ่งของโลกก็ว่าได้ครับ
            ประเทศสิงคโปร์  ถือว่าเป็นเมือไฮเทคก็ว่าได้ สภาพทั่ว ๆ ไปล้อมรอบด้วยทะเทศ แต่การสร้างสรรค์สิงแปลกใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของเขได้ ที่ประทับใจ งานสถาปัตยกรรมในรูปแบบต่างๆที่สร้างสรรค์อย่างสวยงาม ประชาชนมีวินัยในตนเอง รวดเร็ว  บ้านเมืองสะอาดดีมากครับ พอมาดูพี่ไทยเรายังอีกมาน

กิจกรรมที่ 5 ศึกษาดูงานประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS (โปรแกรมสำเร็จรูป for Windows)
การเข้าสู่การทำงานของโปรแกรม SPSS ให้คลิก Icon SPSS ที่ Desktop หรือที่ Start เลือก All Program คลิกที่ Program SPSS ก็จะปรากฏหน้าต่างของ SPSS
1. SPSS มีแถบเมนู Data View และVariable View
การสร้างแฟ้มข้อมูล คือ การบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ลงในโปรแกรม SPSS
1. Data View
2. Variable View
การสร้างแฟ้มข้อมูลมีขั้นตอน ดังนี้ SPSS Data Editor Variable View จะปรากฏวินโดวส์ของ Variable View ดังนี้
ขั้นที่ 1. การตั้งค่าต่างๆ ลงใน Variable View โดยมีเมนูย่อย ดังนี้
1. Name ใช้สำหรับตั้งชื่อตัวแปร เช่น เพศ
2. Type ใช้สำหรับกำหนดชนิดของตัวแปร
3. Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข
4. Comma เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และโปรแกรม จะใส่เครื่องหมาย Comma Dot เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และมี Comma หนึ่งอัน สำหรับคั่นทศนิยม และโปรแกรม SPSS จะใส่เครื่องหมาย (.) คั่นเลขหลักพัน Scientific Notation เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น 22 E-2. Date เป็นตัวแปรชนิดวันที่ คือ ข้อมูลอยู่ในรูป วัน เดือน ปี Dollar เป็นตัวแปรที่มีเครื่องหมาย $ มีจุด 1 จุด สำหรับทศนิยม มี comma สำหรับคั่นเลขหลักพัน Custom Currency สกุลเงินที่ผู้ใช้กำหนดเอง String เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวอักษร ( ข้อความ )
5. Width คือ ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมด้วย สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้สูงสุด 40 หลัก
6. Decimals คือ จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก
7. Label เป็นส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่ Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษร เพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์
8. Values กรณีที่ข้อมูลเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดค่าตัวเลข (Value) และ Value Label เพื่ออธิบายความหมายที่แท้จริงของตัวเลขนั้น เช่น คำถามเกี่ยวกับ เพศ ( เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ) มีคำตอบให้เลือก ดังนี้ เพศชาย เพศหญิง ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศชาย กำหนดให้เพศชายมีค่าเป็น 1 ดังนั้น Value จะใส่ 1 Value Label จะใส่ ชาย ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศหญิง กำหนดให้เพศหญิงมีค่าเป็น 2 ดังนั้น Value จะใส่ 2 Value Label จะใส่ หญิง
9. Missing เป็นการกำหนดค่าที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเลือก Discrete Missing Values แล้วพิมพ์ตัวเลขลง ใช้แทนความหมายบางค่าที่ไม่สมบูรณ์ เช่น 9, 99, 999 คำถามเกี่ยวกับเพศ มีคำตอบให้เลือกดังนี้ เพศชาย เพศหญิง โดยผู้วิจัยจะกำหนดค่าที่เป็นไปไม่ได้สูงสุดของตัวแปรนั้นมาเป็นรหัส คือ 9
10. Columns เป็นการกำหนดความกว้างของ Column Align เป็นการกำหนดให้ค่าของข้อมูลแสดงชิดซ้าย ขวา หรือกลาง
11. Measure การกำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็น Scale, Ordinal หรือ Nominal Scale คือ ข้อมูลที่ใช้วัด Ordinal คือ เลขแสดงลำดับ Nominal คือ ข้อมูลนามบัญญัติ

ขั้นที่ 2. เมื่อผู้วิจัยกำหนด Variable View เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาที่ Data View เพื่อพิมพ์ค่าของข้อมูลต่างๆ
การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อผู้ทำการวิจัยจัดการกับข้อมูลเสร็จแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน ก็ให้คลิกที่แถบคำสั่ง Transform เลือก compute แล้วดำเนินการจัดการกับข้อมูลตามแบบสอบถาม แต่ละด้าน แล้วเลือก OK ก็จะได้ทราบค่าสถิติเบื้องต้น การนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น วิธีการทางสถิติที่นิยมใช้กันมาก คือ
- การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
- การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางหลายทาง
- การแจกแจงความถี่ในรูปของกราฟ
- การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาโดยโปรแกรม SPSS การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว เป็นการแจกแจงข้อมูลโดยใช้ ตัวแปรเพียงตัวเดียว
ขั้นที่ 1. เลือกเมนูและคำสั่งตามลำดับ ดังนี้ Analyze Frequencies จะปรากฏวินโดวส์ของ Frequencies ดังนี้ Descriptive Statistics
ขั้นที่ 2. เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบ๊อกซ์ของ Variable(s)
ขั้นที่ 3. คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output

สรุปความรู้การใช้โปรแกรมspss
1. กำหนดค่าใน variable view
1.1 name-พิมพ์ใส่ชื่อ เพศ,a1,a2,......,d3
1.2 width-ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
1.3 deimals-เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0)
1.4 value-ใส่ค่า 1-น้อยที่สุด 2-น้อย 3-ปานกลาง 4-มาก 5-มากที่สุด
2. พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(20 ชุด)
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 transform-compute-พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
3.2 เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
3.3 transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
3.4 เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
3.5 transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
3.6 เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
3.7 transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
3.8 เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
3.8 คลิก analyze-descriptive statistic - frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3
คลิก ok แสดงประมวลผลการใช้ใช้โปรแกรม SPSS

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว




นายสุรินทร์  บุญสนอง
ตำแหน่ง ครู ทำหน้าที่หัวหน้าแผนกวิชาพาณิชยนาวี
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช

 
ประวัติการศึกษา

พ.ศ.2546  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต
          สาขาเครื่องกล (ค.อ.ม.เครื่องกล)
          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ.2538  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
          ครูเทคนิคชั้นสูงสาขาเครื่องกล (ปทส.เครื่องกล)
          วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
พ.ศ.2536  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
          สาขาวิชาช่างยนต์(ปวส.ช่างยนต์)
          วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
พ.ศ.2534  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
          สาขาวิชาช่างยนต์(ปวช.ช่างยนต์)
          วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช

การทำงาน

พ.ศ.2538 บรรจุเป็นราชการครั้งแรก ณ วิทยาลัยเทคนิคพังงา
         อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
พ.ศ.2542 ย้ายมาปฏิบัติราชการ ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
         การต่อเรือนครศรีธรรมราช อำเภอปากพนัง 
         จังหวัดนครศรีธรรมราช

การศึกษาดูงาน

พ.ศ.2543 ศึกษาดูงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ประเทศ อิตาลี
         ศึกษาดูงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ประเทศ อังกฤษ
พ.ศ.2547 ศึกษาดูงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ประเทศ สิงคโปร์
         ศึกษาดูงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ในเรือขนส่งสินค้า
         ระหว่างประเทศ เส้นทาง สิงคโปร์-ฟิลิปินส์-สิงคโปร์