แนะนำสถานศึกษาต้นสังกัด

nasic on PhotoPeach

คนประจำเรือ

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่4

ชื่อสถานศึกษา       วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช
ที่ตั้ง                          147  หมู่ที่  4  ถนนท่าเทียบเรือ  ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก  อำเภอปากพนัง  จังหวัดนครศรีธรรมราช   
                                   รหัสไปรษณีย์  80140
โทรศัพท์                  075  444212  ,  075  370759
โทรสาร                    075  370740
เว็บไซต์                    www.nasic.moe.go.th
          กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช  ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  7  เมื่อวันที่  16  พฤศจิกายน  2530  เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะและความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่  ที่ใช้ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและสนองความต้องการของตลาดแรงงานในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้  โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการเงินกู้กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) เพื่อใช้ในการจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับการเรียนการสอน  ปัจจุบันได้เปิดการเรียนการสอนทั้งระดับ ปวช. และ ปวส. ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมประเภทวิชาบริหารธุรกิจสาขาการจัดการขนส่ง  และหลักสูตรเทียบเท่าปริญญาตรีนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ฝ่ายช่างกล (หลักสูตรพิเศษ)
เป้าหมายการพัฒนา
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช  มีเป้าหมายดังนี้
                1.  จัดการศึกษาในระบบ โดยเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  และระดับปริญญาตรี
                2.  จัดการศึกษานอกระบบ   โดยการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้น  เพื่อยกระดับฝีมือให้กับบุคคลทั่วไป
วิสัยทัศน์   ปรัชญา  พันธกิจ  วิทยาลัย
วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
มุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นเลิศด้านวิชาชีพเฉพาะทางเพื่อสนองความ
ต้องการของชุมชน  ประเทศชาติสู่ระดับสากล
ปรัชญาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
รู้หน้าที่  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้   เชิดชูคุณธรรม 
         พันธกิจ
                      1.  จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพ  ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
                      2.  ผลิตกำลังคนในระดับช่างฝีมือเข้าสู่งานอุตสาหกรรมการต่อเรือและพาณิชยนาวี
                      3.  ปลูกฝังให้บุคลากรมี คุณธรรม  จริยธรรม  ในการระกอบวิชาชีพและภาคภูมิใจในการ
                           ประกอบวิชา
                      4.  เป็นศูนย์กลางบริการทางวิชาชีพและเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม
                      5.  ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                      6.  ส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพให้ชุมชน
                      7.  สนับสนุนการวิจัย  เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
หลักสูตรและระดับที่เปิดสอน
                      วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช  เปิดทำการสอนใน  3  ระดับ  คือ  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)  หลักสูตรเทียบเท่าปริญญาตรี  ใน  ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
                      1.  หลักสูตรระดับ  ปวช.  ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
                            -  สาขางานต่อเรือ                                              -  สาขางานยานยนต์
                            -  สาขางานเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง                        -  สาขางานโลหะการ
                            -  สาขางานไฟฟ้ากำลัง                                        -  สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
                            -  สาขางานเมคคาทรอนิกส์
                      2.  หลักสูตรระดับ  ปวส.  ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
                                               -  สาขางานต่อเรือ                                           -  สาขางานยานยนต์
                            -  สาขางานเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง                     -  สาขางานโลหะการ
                            -  สาขางานไฟฟ้ากำลัง                                     -  สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
                            -  สาขางานเมคคาทรอนิกส์                            -  สาขางานเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
                            -  สาขางานบริหารธุรกิจ (การจัดการขนส่ง)
                      3.  หลักสูตรพิเศษเทียบเท่าปริญญาตรี
                            -  นักเรียนเดินเรือพาณิชย์
                      วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช  ได้ใช้ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง  และมีประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษาของกรมอาชีวศึกษา  7  มาตรฐาน  43  ตัวบ่งชี้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยมีกลไกในการกำกับติดตามคุณภาพอย่างชัดเจนตั้งแต่ระดับครูผู้สอน  ให้รายงานติดตามคุณภาพของผลงานของตน  หัวหน้างานกำกับติดตามงานในระดับฝ่ายงาน  คณะกรรมการกำกับคุณภาพติดตามมาตรฐานงานตามตัวบ่งชี้ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  มีการดำเนินการกำกับติดตามและรายงานผลการติดตามอย่างต่อเนื่อง  ภายใต้การกำกับติดตามของรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการศึกษา  และหัวหน้าประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  ทำให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายตามแผนพัฒนา  และพันธกิจที่กำหนดสอดคล้องเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
จุดเด่นของสถานศึกษา
                1.  ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ความสามารถ  มีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์มีการสร้างเครือข่าย
     ประชาคมอาชีวศึกษา
 2.  สถานศึกษา  มีการบริการที่มีคุณภาพสามารถพัฒนาสถานศึกษาไปสู่การเป็นสถาบันการศึกษาที่
      ผลิตกำลังคนเฉพาะทางด้านการพานิชยนาวีตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและสอดคล้อง
      กับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.  สถานศึกษามีอุปกรณ์  เครื่องมือและครุภัณฑ์การศึกษา ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติที่ทันสมัยและ
     เพียงพอ
จุดที่สถานศึกษาควรพัฒนา
                1.  ควรพัฒนาศูนย์วิทยบริการมีสื่อการเรียนรู้ให้หลากหลายและเพียงพอกับจำนวนผู้เรียน
                2.  สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาควรปรับปรุงพัฒนาให้มีความร่มรื่น  สวยงามและมีพื้นที่พักผ่อน
                     หย่อนใจของนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น
                3.  ควรประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลและผลงานของสถานศึกษาออกสู่สาธารณชน
                4.  ควรจัดทำวิจัยสถาบันที่สามารถจะนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาได้
          5.  ควรมีเครือข่ายประชาคมอาชีวศึกษาที่เป็นสมาคมศิษย์เก่าหรือสมาคมผู้ปกครองเข้ามาร่วมเสริม
                     สร้างความเข้มแข็งและร่วมพัฒนาสถานศึกษา
การพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
                สถานศึกษาควรพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาเฉพาะทางเน้นการจัดการเรียนการสอนด้านพาณิชยนาวีในสาขาวิชาต่าง ๆ และควรพัฒนาสถานศึกษาในด้านบุคลากรผู้สอน  ครุภัณฑ์  อาคารสถานที่  เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดสอนระดับปริญญาตรี
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระยะสั้น
                1.  ควรตรวจ  กำกับ  ติดตาม  นักศึกษา  ที่เข้าเรียนใหม่  เพื่อลดการออกกลางคันของนักศึกษา
                2.  ควรดำเนินการติดตามนักศึกษาที่เรียนจบแล้วมีงานทำ หรือเรียนต่อเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลการ
จัดการศึกษา
                3.  ควรพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา  ให้มีความพร้อมและทันต่อเทคโนโลยี
                4.  ควรพัฒนานักเรียน  นักศึกษา  ส่งเสริมในด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ให้มากขึ้น